Bamboo
ชื่อสามัญ: Bamboo
ชื่อวิทยาศาสตร์: มีหลายร้อยชนิดในหลายสิบสกุลจากตระกูล Poaceae (หญ้า) (ไผ่ที่ให้เนื้อไม้หลายชนิดมาจากสกุล Phyllostachys และ Bambusa)
ถิ่นกำเนิด: ไม้ไผ่ที่ให้เนื้อไม้ส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้
ขนาดต้นไม้: ไผ่ที่ใหญ่ที่สุดบางชนิดอาจสูงได้ถึง 50-100 ฟุต (15-30 ม.)
เส้นผ่านศูนย์กลาง: 3-6 นิ้ว (10-20 ซม.)
น้ำหนักแห้งเฉลี่ย: 31 lbf/ft3 (500 kg/m3) to 53 lbf /ft3 (850 kg/m3)
ความถ่วงเฉพาะ: 0.38 ถึง 0.64, 0.50 ถึง 0.85
ความแข็ง: 1,410 lbf (6,270 N) ถึง 1,610 lbf (7,170 N)
การแตกหัก: 11,020 lbf/in2 (76.0 MPa) ถึง 24,450 lbf/in2 (168.6 Mpa)
การยืดหยุ่น: 2,610,000 lbf/in2 (18.00 GPa) ถึง 2,900,000 lbf/in2 (20.00 Gpa)
แรงอัดแตก: 8,990 lbf/in2 (62.0 Mpa) ถึง 13,490 lbf/in2 (93.0 Mpa)
การหดตัว: Diameter: 10-16%, Wall Thickness: 15-17%
*หน่วย
lbf/in2 = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
lbf /ft3 = ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต
kg/m3 = กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สี/ลักษณะ: โดยทั่วไปจะมีสีสม่ำเสมอและมีสีเหลืองอ่อนจนเกือบขาว ไม้ไผ่สดที่ถูกทิ้งไว้นานเกินไปมักจะเกิดการผุพังจากเชื้อรา ทำให้ไม้เปลี่ยนสีเป็นริ้วๆ สีน้ำตาลหรือดำ
เสี้ยนเนื้อไม้/ผิวสัมผัสเนื้อไม้: เนื่องจากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในตระกูลหญ้า ไผ่จึงไม่มีกระพี้ แก่นไม้หรือวงปี ผิวสัมผัสเนื้อไม้มีความสม่ำเสมอมากและเนื้อไม้มีตั้งแต่ผิวสัมผัสเนื้อไม้หยาบปานกลางถึงละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น ไม้ไผ่ที่ถูกผ่าออกและผ่านกระบวนการเป็นไม้สำหรับงงานก่อสร้าง จะมีเส้นใยที่แตกต่างกันในแต่ต้น
ความทนทาน: ไม้ไผ่ที่ใช้ในสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นเน่าเสียง่ายและจะเสื่อมสภาพในเวลาไม่กี่ปี เนื่องจากไผ่มีวงจรชีวิตตามธรรมชาติที่สั้น ซึ่งหลายชนิดเติบโตเต็มที่อย่างรวดเร็วหลังจากผ่านไปเพียงสองหรือสามปี แต่ต่อมาก็สามารถถูกรบกวนโดยเชื้อราได้ง่ายและจะเสียสภาพการใช้งานไม่กี่ปีต่อมา ไผ่ยังอ่อนแอต่อการรุกรานของแมลง เช่น แมลงปีกแข็ง ปลวก และเพรียงทะเล
ความสามารถในการใช้: ตามมาตรฐานงานไม้ ไม้ไผ่มีการใช้งานแตกต่างกันไป และนำมาใช้งานได้ไม่ยากนัก แต่อาจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เส้นใยไผ่มักจะแตกและดีดออกเมื่อตัดตามขวาง (แนะนำให้ติดเทปกาวทั่วแนวตัดไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการฉีกขาดในลักษณะนี้) นอกจากนี้ ไม้ไผ่ยังมีซิลิกาสูงมาก ตั้งแต่ 0.5% ถึง 4.0% ซึ่งพบได้เกือบทั้งหมดในชั้นนอกสุดของลำต้น ดังนั้นต้องระมัดระวังในการแปรรูปไม้ แนะนำให้ใช้หัวกัดคาร์ไบด์ และแนะนำให้ขัดผิวแทนการไสความหนาด้วยหัวตัดเหล็ก ทั้งนี้เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานของคมตัดและคุณภาพของผิวสัมผัสเนื้อไม้ไม้ ไม้ไผ่สามารถติดกาว ย้อมสีง่ายและแห้งไว หากกลึงไม้ไผ่ขนาดใหญ่เกินไปเครื่องมือจะทื่อเร็ว และหัวไม้ฉีกขาดง่ายเป็นเรื่องปกติ แต่การฉีกขาดของไม้ไผ่มักจะตื้นมาก และหัวไม้จะสึกเกือบพอๆ กับหน้าไม้ โดยรวมถือว่าไม้ไผ่นำมาใช้งานได้ง่าย
กลิ่น: ขณะใช้งาน ไม้ไผ่จะมีกลิ่นคล้ายดินและเป็นกลิ่นเฉพาะตัว
การแพ้/ความเป็นพิษ: แม้ว่าการแพ้อย่างรุนแรงจะค่อนข้างพบได้ไม่บ่อย แต่ก็มีรายงานว่าไม้ไผ่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ยังไม่ชัดเจนว่าไม้ไผ่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองจริง ๆ หรือเป็นเพราะเชื้อราในไม้ ดูบทความ Wood Allergies และ Toxicity Wood Dust Safety สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ราคา/การมีอยู่: ไม้ไผ่มีจำหน่ายอยู่สามรูปแบบ: ไม้กลึงกลวงจากไผ่ยักษ์; ไม้แผนกระดานติดกัน (ใช้ปูพื้น) และแผ่นที่ทำจากตอกไม้ไผ่เล็กๆ จำนวนมาก และแผ่นไม้วีเนียร์ แม้ว่าไม้ไผ่จะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีมาก และราคาของวัตถุดิบมักจะต่ำ (มักถูกเรียกว่า “ไม้ของคนจน” เพราะราคาของไม้ไผ่ที่ต่ำ) แต่จะมีราคาสูงขึ้นมากสำหรับการใช้เพื่อให้พลังงาน การแปรรูป และสินค้านำเข้าที่มักจะมีต้นทุนสูงกว่าไม้เนื้อแข็งในประเทศ
ความยั่งยืน:ไม้ชนิดนี้ไม่ได้จัดอยู่ในสัญญาสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) แต่ถูกประเมินให้อยู่ในสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในโลกโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List)
การใช้งานทั่วไป: ไม้วีเนียร์ กระดาษ พื้น คันเบ็ด บันได นั่งร้าน เครื่องดนตรี (ขลุ่ย/เครื่องลมไม้/ระฆังไม้ไผ่) เฟอร์นิเจอร์ มู่ลี่หน้าต่าง งานแกะสลัก และของแปลกใหม่ชิ้นเล็กๆ
อ้างอิง
Eric Meier ( November 2021). Wood identifying and using hundreds of wood world wide Retrieved September 10, 2022, from https://www.wood-database.com/bamboo/