Mora
ชื่อสามัญ: Mora
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mora excelsa, M. gonggrijpii
การกระจายพันธุ์: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ (โดยหลักคือกายอานาและซูรินาเม)
ขนาดต้นไม้: สูง 100-130 ฟุต หรือ 30-40 เมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ฟุต 0.6-1.0 เมตร
น้ำหนักแห้งเฉลี่ย: 63 (lbf/ft3) 1,015 (kg/m3)
ความถ่วงเฉพาะ : 0.80,1.10
ความแข็ง : 2,300 (lbf) 10,230 (N)
การแตกหัก : 22,550 lbf/in2 (155.5 Mpa)
การยืดหยุ่น: 2,790,000 lbf/in2 (19.24 Gpa)
แรงอัดแตก: 11,950 lbf/in2 (82.4 Mpa)
การหดตัว: Radial: 6.7%, Tangential: 9.9%, Volumetric: 17.7 %, T/R Ratio: 1.5
*หน่วย
lbf/in2 = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
lbf/ft3 = ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต
kg/m3 = กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สี/ลักษณะ: แก่นไม้มีสีน้ำตาลแดงอ่อนถึงปานกลาง ส่วนกระพี้มีลักษณะกว้างมีสีน้ำตาลเหลืองซีดและแบ่งแยกอย่างชัดเจนจากแก่นไม้
เสี้ยนเนื้อไม้/ผิวสัมผัสเนื้อไม้: เสี้ยนเนื้อมีลักษณะเป็นเสี้ยนสน มีผิวสัมผัสเนื้อไม้หยาบปานกลางจนถึงหยาบและมีความมันวาวตามธรรมชาติ
ความทนทาน: ไม้mora ได้รับการจัดอันดับว่ามีความทน ทนทานมากและยังมีความทนทานต่อการเข้าทำลายของแมลงได้ดีอีกด้วย
ความสามารถในการใช้: ชิ้นงานไม้ที่มีเสี้ยนเนื้อมีลักษณะเป็นเสี้ยนสนอาจทำงานได้ยาก ซึ่งส่งผลให้เกิดการฉีกขาดระหว่างการตัดเลื่อย และไม้mora ยังส่งผลให้คมตัดของเครื่องมือทื่ออีกด้วย
กลิ่น: ไม้mora สามารถมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และกลิ่นเปรี้ยวได้ในขณะทำงาน
การแพ้/ความเป็นพิษ: มีรายงานว่าไม้mora ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ดูบทความเพิ่มเติม Wood Allergies and Toxicity and Wood Dust Safety สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ราคา/การมีอยู่: ใช้ไม้mora ภายในท้องถิ่น และส่งออกเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากว่ามี ราคาของไม้ควรจะอยู่ระดับปานกลางสำหรับไม้เนื้อแข็งที่นำเข้า
ความยั่งยืน: พันธุ์ไม้นี้ไม่ได้จัดอยู่ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญา (CITES) และไม่อยู่ในสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในโลกโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List)
การใช้งานทั่วไป: เป็นไม้ที่ใช้สำหรับไม้ปูพื้น, ไม้ต่อเรือ, งานก่อสร้างโครงสร้างหนัก (ภายนอก) และงานกลึง
อ้างอิง
Eric Meier ( November 2021). Wood identifying and using hundreds of wood world wide Retrieved September 10, 2022,from https://www.wood-database.com/mora/