Paduak
ชื่อสามัญ: African padauk, vermillion
ชื่อวิทยาศาตร์: Pterocarpus soyauxii
ถิ่นกำเนิด: กาบอง แคเมอรูน ชาด เซาตูแมอีปริงซีป สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสาธารณรัฐแอฟริกากลาง อิเควทอเรียลกินี แองโกลา และเขตตะวันตก
ความสูงลำต้น: 100-130 ฟุต (30-40 เมตร)
เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น: 2-4 ฟุต (6-12 เมตร)
น้ำหนักแห้งเฉลี่ย: 46.5 lbf/ft3 (745 kg/m3)
ความถ่วงเฉพาะ: 0.63, 0.75 Mc
ความแข็ง (Janka): 1,710 lbf (7,580 N)
โมดูลัสของการแตกร้าว: 18,380 lbf (126.7 Mpa)
โมดูลัสยืดหยุ่น: 1,895,000 lbf/in2 (13.07 Gpa)
แรงอัด: 9,240 lbf
การหดตัว: รัศมี 3.1%
*หน่วย
lbf/in2 = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
lbf /ft3 = ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต
kg/m3 = กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
PADUAK Textrue
เเตะรูปเพื่อดูทั้งหมด
สี/ลักษณะ : สีของไม้อาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่สีส้มอมชมพูอ่อนไปจนถึงสีเลือดหมู จะมีสีส้มแดงเมื่อตัดหรือขัดใหม่ๆ และจะเข้มขึ้นอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปจนกลายเป็นสีน้ำตาลแดง (บางครั้งอาจมีสีอ่อนกว่าอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทาได้) ถึงแม้จะมีการเคลือบผิวด้วยน้ำมันแลคเกอร์หรือยูริเทรน แต่ไม่ได้ป้องกันการเปลี่ยนสีของไม้เมื่อเวลาผ่านไป
กลิ่น : ไม้ประดู่เป็นไม้เนื้อแข็งมีกลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียดปานกลาง แต่มีความแข็งแรงทนทานสูงพอ ๆ กับไม้แดงแต่อัตราการหดตัวน้อยกว่า เนื้อไม้ประดู่มีหลายสี เช่น สีแดงอมเหลือง สีชมพูอมส้ม และสีอิฐแก่
ความต้านทานการเน่า : มีความทนทานต่อการผุกร่อน สามารถต้านทานปลวกและแมลงอื่นๆ ได้
ความเป็นพิษ : ผงหรือฝุ่นไม้ประดู่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง และทางเดินหายใจ
การใช้งานได้ : ประดู่โดยรวมนั้นใช้งานง่าย แม้ว่าอาจจะเกิดการแตกร้าวได้เมื่อไสหรือเลื่อย แต่ประดู่มีความแข็งมากเมื่อถูกตัดหรือผ่าตามเสี้ยนไม้ จึงนิยมนำไปใช้ทำด้ามจับประตู ด้ามจับอุปกรณ์ หรือเครื่องมือช่างอื่นๆ
ไม้วงศ์ Pterocarpus อยู่ในบัญชีรายชื่อของ CITES (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือเรียกโดยย่อว่า CITES) ซึ่งรวมถึงไม้ประดู่แอฟริกาด้วย แต่ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อของ IUCN (องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature and Natural Resources)