Andaman Padauk
ชื่อสามัญ: Andaman Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus dalbergioides
การกระจายพันธุ์: หมู่เกาะอันดามัน
ขนาดต้นไม้: สูง 80-120 ฟุต หรือ 24-37 เมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง: 2-4 ฟุต หรือ 0.6-1.2 เมตร
น้ำหนักแห้งเฉลี่ย: 48 lbf/ft3 (770 kg/m3)
ความถ่วงเฉพาะ : 0.63, 0.77
ความแข็ง : 1,630 lbf (7,250 N)
การแตกหัก : 14,770 lbf/in2 (101.9 Mpa)
การยืดหยุ่น: 1,754,000 lbf/in2 (12.10 Gpa)
แรงอัดแตก: 8,830 lbf/in2 (60.9 Mpa)
การหดตัว: Radial: 3.3%, Tangential: 4.4%, Volumetric: 6.4%, T/R Ratio: 1.3
*หน่วย
lbf/in2 = ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
lbf/ft3 = ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต
kg/m3 = กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สี/ลักษณะ: มีสีส้มอมชมพูอ่อนไปจนถึงสีแดงอมน้ำตาลเข้ม ส่วนใหญ่มักจะเป็นสีส้มแดงเมื่อตัดใหม่ และเข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นสีน้ำตาลแดง/ม่วง สีส้มของไม้สามารถคงสภาพไว้ได้ด้วยวิธีการตกแต่งที่หลากหลาย ดูบทความ Preventing Color Changes in Exotic Woods รายละเอียดเพิ่มเติม
เสี้ยนเนื้อไม้/ผิวสัมผัสเนื้อไม้: เสี้ยนเนื้อไม้มักเป็นเสี้ยนสน โดยผิวสัมผัสเนื้อไม้หยาบและมี pores หรือ เนื้อเยื่อ/เซลลขนาดค่อนข้างใหญ่
ความทนทาน: ได้รับการจัดอันดับว่ามีความคงทนมากในการต้านทานการผุกร่อน ทนทานต่อปลวกและแมลงอื่นๆ
ความสามารถในการใช้: โดยรวมนั้นง่ายต่อการทำงานทั้งการกลึงและกาว การฉีกขาดอาจเกิดขึ้นในระหว่างการไสจากเสี้ยนสน
กลิ่น: มีกลิ่นหอมจางๆ ขณะทำงาน
การแพ้/ความเป็นพิษ: ไม้ Andaman Padaukได้รับรายงานว่าเป็นสารก่อภูมิแพ้ ปฏิกิริยาทั่วไปส่วนใหญ่มักรวมถึงการระคายเคืองตา ผิวหนัง และทางเดินหายใจดูบทความ Wood Allergies and Toxicity และ Wood Dust Safety สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ราคา/การมีอยู่: ปัจจุบันหายากมาก ไม้ Andaman Padauk ราคาอยู่ในช่วงกลางถึงสูงสำหรับไม้เนื้อแข็งนำเข้า
ความยั่งยืน: ไม้ชนิดนี้ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในสัญญาสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ CITES หรือความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในโลกโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List )
การใช้งานทั่วไป: ไม้วีเนียร์, พื้น, งานกลึง, เครื่องดนตรี, เฟอร์นิเจอร์, ด้ามจับเครื่องมือและวัตถุไม้พิเศษขนาดเล็ก
อ้างอิง
Eric Meier ( November 2021). Wood identifying and using hundreds of wood world wide Retrieved September 10, 2022, from https://www.wood-database.com/andaman-padauk/