วะบิ ซะบิ จิตวิญญาณที่อยู่ใน เฟอนิเจอร์ไม้สไตล์ ญี่ปุ่น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราคงเคยได้ยินว่าคนไทยเริ่มมีความสนใจในการแต่บ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์ญี่ปุ่นกันมากขึ้น และหนึ่งในสไตล์การแต่งบ้านที่คนพูดถึงกันมากที่สุดก็คือสไตล์เรียบง่าย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวชัดเจนที่เรียกว่า “วะบิ ซะบิ”
ศิลปะการแต่งบ้านแบบ วะบิ ซะบิ มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลต่อความคิดและมุมมองของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้ชัดผ่านสถาปัตยกรรม และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่จะมีหลายจุดสังเกตุที่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน
หากเราเอาคำว่า “วะบิ ซะบิ” ไปถามถึงความหมายของศิลปะแนวนี้กับคนญี่ปุ่น ก็จะได้คำตอบเป็นนัยๆกลับมาว่า มันไม่มีความหมายแบบตรงตัวที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจ แต่ วะบิ ซะบิ จะเป็นเรื่องของสิ่งที่เราจะสัมผัสได้ด้วยใจเราถึงจะเข้าใจมัน
หนังสือหลายเล่มในท้องตลาดได้ให้คำนิยามกับศิลปการแต่งบ้านแบบ วะบิ ซะบิ ว่ามันคือ “ความงามของความไม่สมบูรณ์แบบในธรรมชาติ”
เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่าความไม่แน่นอน หรือความไม่ยั่งยืนถาวรในสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นรอยแตก รอยบิ่น รอยไหม้ หรือแม้กระทั่งลายของไม้แผ่นหรือสีของโต๊ะที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มักจะมีเรื่องราวและปรัชฌาที่น่าสนใจสอดแทรกอยู่ในนั้นเสมอ
“ ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นร่องรอยของความงามในอดีต ที่ยิ่งผ่านเวลายิ่งทรงคุณค่ามากขึ้นในทุกวินาที”
อีกนัยหนึ่ง วะบิ ซะบิ เป็นมิติของมุมมองทางธรรมของศาสนา พุทธ นิกาย Zen ในลักษณะของรูปธรรมวัตถุที่ชี้ให้เห็นถึงมุมมองที่เป็นสัจธรรมของทุกสรรพสิ่งว่าทุกสิ่งนั้นล้วนไม่เที่ยง เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบนี้มาไว้ครอบครอง เพราะนอกจากจะเป็นการสอดแทรกถึงแนวปรัชญาในทางศาสนาแล้ว
เฟอร์นิเจอร์ไม้ชิ้นที่เหมาะสมยังเป็นตัวช่วยในการบ่งบอกถึงตัวตน มุมมอง แนวคิดและสไตล์แต่งบ้านแบบญี่ปุ่นสไตล์ วะบิ ซะบิ ที่ชัดเจน
1.ความไม่คงทนถาวร : ต้องเป็นโต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ แจกัน หรือแก้วชาดินเผา ที่เหลือไว้ซึ่งร่องรอยที่บิ่น แตกหัก หรือพื้นผิวที่มีริ้วรอยความเสียหายต่างๆ เพราะเชื่อว่าทุกร่องรอยคือตัวแทนของเหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลาที่เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นได้ผ่านและได้พบเจอ
2.ความไม่สมบูรณ์แบบ : ยิ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีความไม่สมมาตร ไม่เรียบเนียน หรือมีจุดสังเกตุที่สะดุดตา ที่สามารถชี้ให้ไม่สามรถเห็นถึงความสมบูรณ์แบบที่หาได้แบบทั่วไปหรือที่สวยเป๊ะทุกอณู จะยิ่งทำให้ผู้ที่ชอบการแต่งบ้านสไตล์นี้มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อว่าทุกความไม่สมบูรณ์พร้อมคือความสมบูรณ์พร้อมที่ลงตัวที่สุด
3.ความงดงามที่สัมผัสได้ด้วยใจ : การแต่งบ้านสไตล์วะบิ ซะบิ จะเน้นย้ำให้ โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ หรือเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่นๆ เป็นตัวแทนของเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตของเจ้าของ ยิ่งเฟอร์นิเจอร์ไม้เหล่านั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ความเป็นมาที่ยาวนานหรือ ผ่านการใช้งานมามากเท่าไหร่ยิ่งเกิดความประทับใจเป็นเท่าตัว
จะเห็นได้ชัดว่า วะบิ ซะบิ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นสไตล์การแต่งบ้านที่ไม่ใช่เป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่เป็นการผสานส่วนประกอบสำคัญในเชิงสัจธรรม ที่มีความลึกซึ้งผ่าน 3 โสตสัมผัสหลักของมนุษย์ คือ
การมองเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยมือ และรู้สึกได้สุนทรียะภายในใจ ทำให้เกิดเป็นการเล่าเรื่องชั้นยอดโดยใช้เฟอร์นิเจอร์ที่แต่งบ้านที่ถูกผสานเข้ากับกับคำสอนทางศาสนา ปรัชฌาที่แยบยล และตัวตนที่ชัดเจนได้อย่างลงตัว
ที่มา : หนังสือ วาบิ ซาบิ งดงามในความไม่สมบูรณ์